เป็นบริการที่จัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่และที่ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ จัดส่งในรูปของเอกสารกระดาษ วัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ มีการคิดค่าบริการผู้ใช้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละห้องสมุด ที่สำคัญผู้นำส่งที่รับผิดชอบเรื่องนี้ต้องทราบกฎหมายลิขสิทธิ์ และในการจัดส่งนั้นจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ด้วย ในต่างประเทศจะมีการเสียภาษีด้วยเพราะถือว่าเป็นการค้าวัสดุเอกสาร อาจจะเป็นในห้องสมุดเพื่อหารายได้ของห้องสมุดและผู้แทนจำหน่าย
บริการเสริม ILL
มีการทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร เอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ บริการนี้มักจะทำในห้องสมุด เพราะวารสารมีราคาสูง มีผู้ใช้น้อย ห้องสมุดก็สามารถใช้บริการเครือข่ายติดต่อบริษัทจำหน่ายบทความได้ โดยไม่ต้องบอกรับวารสารเอง และการซื้อบทความมักจะมีการบวกภาษีเพิ่มด้วย
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการบริการ
ปรัชญาของการบริการนี้ก็จะเหมือนกับปรัชญาการบริการ ILL คือ
•ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
•สนองความต้องการผู้ใช้
•แก้ปัญหาการบริการ ไฟไหม้ น้ำท่วม หาย
•เพิ่มศักยภาพในการบริการ
วัตถุประสงค์
Just in time (ทันกาล) สามารถให้บริการผู้ใช้ได้ในทันทีที่ผู้ใช้ต้องการ
สืบเนื่องจาก - การส่งเอกสารเริ่มจากการยืมระหว่างห้องสมุด
- งบประมาณลดลงที่ได้ ผู้ใช้ถูกจำกัดการใช้
แตกต่างจากบริการ ILL คือ เตรียม จัดหา ผลิต ทรัพยากรสารสนเทศสำหรับผู้ใช้
วิธีการบริการ - เดิม จะบริการส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร
- ปัจจุบัน บริการจัดส่งในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง แนบไฟล์ จัดหาหนทาง
วิธีการนำส่ง (มีให้บริการทั้งภายในและภายนอกองค์กร)
1. ทางไปรษณีย์
2. ทางโทรสาร
3. ยานพาหนะ
และมีการส่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความรวดเร็ว
1. e-mail
2. นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร : Prospero (oss) ส่งเอกสารแบบ Tiff file แจ้งทางอีเมล์
ผู้ให้บริการ
- สถาบันบริการสารสนเทศ
- ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
- ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขาวิชา เช่น Proquest
- ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์ เช่น Elsevier Science, SpringerLink
- ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล เช่น Dialog, Dissertation Abstract Online-DAO
- ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ เช่น Infotrieve
การดำเนินการ
มีทั้งระบบมือและระบบอัตโนมัติ จะมีลักษณะแบบฟอร์มให้ผู้ใช้ในการขอใช้บริการ เช่น ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมีการให้บริการอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์
- การบริการของห้องสมุดแก่ห้องสมุดอื่น จะอยู่ในรูปของการขายเอกสาร
- ผ่านผู้ให้บริการทั่วไป เช่น Ingenta สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะสาระสังเขปเท่านั้น ถ้าต้องการข้อมูลทั้งหมดต้องทำการซื้อ และจะมีโปรโมชั่นต่างๆให้ลูกค้า
- นายหน้าค้าสารสนเทศ เช่น Infotrieve จะเหมือนกับ Ingenta แต่จะไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง
- ห้องสมุดจัดเตรียมให้
การบริการบนอินเทอร์เน็ต
สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดยไม่ต้องเข้าห้องสมุดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น เป็นการจัดหาหนทางให้ผู้ใช้อีกทางหนึ่ง
ข้อคำนึงการให้บริการDD
1. ลิขสิทธิ์
2. ค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสาร ค่าสำเนา ค่าส่ง บุคลากร ค่าลิขสิทธิ์ตอบแทน ค่าตรวจสอบแหล่งสารสนเทศ ค่าบอกรับ ผู้ใช้จะต้องรับผิดชอบ
3. การเข้าถึงและ กรรมสิทธิ์
4. ความสามารถในการเข้าถึงต่างระบบ
5. ค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
• แจ้งผู้ขอทันที
• จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
• บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ขอใช้
*การนำส่งต้องส่งคืนด้วนตนเองที่ห้องสมุดเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น